เพื่อให้ธุรกิจสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ติดขัด ระบบ IT จึงจำเป็นที่จะต้องทำงานอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มี Downtime และการติดตามการทำงานของระบบ IT ทั้งหมดแบบ Real-time ก็ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์กร โดยโซลูชันที่จะเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ก็คือระบบ IT Infrastructure Monitoring นั่นเอง

การทำงานของระบบ IT Infrastructure Monitoring
ระบบ IT Infrastructure Monitoring นี้จะทำการรวบรวมข้อมูลสถานะการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเครือข่ายผ่านทาง SNMP, Syslog, SSH, NetFlow, sFlow, J-Flow และ Agent Software เพื่อวิเคราะห์สถานะการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมด, ตรวจสอบการโจมตีที่เกิดขึ้นในเครือข่าย และทำการแสดงผลแบบ Real-time ผ่านทาง Dashboard และการแจ้งเตือน รวมถึงสร้างรายงานได้ โดยระบบที่ IT Infrastructure Monitoring สามารถตรวจสอบได้มีดังนี้
- ตรวจสอบการทำงานและการเรียกใช้งานApplication ต่างๆ
- ตรวจสอบการทำงานและปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Database
- ตรวจสอบการทำงานและประสิทธิภาพของระบบ Storage
- ตรวจสอบการทำงานและปริมาณการใช้งานระบบ Network
- ตรวจสอบสถิติการทำงานและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระบบ Security
- ตรวจสอบการทำงานที่ระดับของ OS และ Hypervisor สำหรับระบบ System

Big Data คือ
ข้อมูลขนาดใหญ่มากจนซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ธรรมดานั้นไม่สามารถที่จะจัดการหรือวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฺBig Data คือ การรวบรวมข้อมูลทั้ง Structured (พวกที่เก็บในโครงสร้างตารางข้อมูล) และ Unstructured (พวกที่เป็น text ยาวๆ รูปภาพ และ วิดีโอต่างๆ) มาทำการประมวลวิเคราะห์ข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์
DC DR & Storage
มาตรฐานของ Data Center
การสร้างศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตหรือ Data Center นั้นไม่ใช่สร้างกันดื้อๆ ไม่มีแนวทางอะไรนะครับ แต่มีมาตรฐานที่เรียกว่า ANSI/TIA-942 กำหนดระดับคุณภาพของ Data Center ออกเป็น 4 ระดับ หรือที่เรียกในวงการว่า Tier ซึ่งแค่ Tier 1 มาตรฐานขั้นต่ำสุดสำหรับการเป็น IDC ก็กำหนดว่าระบบต้องทำงานได้อย่างน้อย 99.671% หรือในหนึ่งปีระบบล่มได้ไม่เกิน 28.83 ชั่วโมงแล้ว ส่วน Tier 4 ที่เป็นมาตรฐานสูงสุดกำหนดให้ระบบต้องทำงานได้ 99.995% หรือปีหนึ่งล่มได้ไม่เกิน 26.28 นาที และต้องมีระบบสำรองพร้อมทำงานเสมอ

- Tier 1 ระบบต้องทำงานได้อย่างน้อย 671% หรือในหนึ่งปีระบบล่มได้ไม่เกิน 28.8 ชั่วโมง แต่ไม่มีระบบทำงานสำรอง
- Tier 2 ระบบต้องทำงานได้อย่างน้อย 741% หรือในหนึ่งปีระบบล่มได้ไม่เกิน 22 ชั่วโมง ต้องมีระบบทำงานสำรองด้วย
- Tier 3 ระบบต้องทำงานได้อย่างน้อย 982% หรือในหนึ่งปีระบบล่มได้ไม่เกิน 1.6 ชั่วโมง ต้องมีระบบทำงานสำรอง มีไฟฟ้าสำรอง และช่องทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำรอง
- Tier 4 ระบบต้องทำงานได้อย่างน้อย 995% หรือในหนึ่งปีระบบล่มได้ไม่เกิน 24 นาที ต้องมีระบบทำงานสำรอง มีไฟฟ้าสำรอง ช่องทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำรอง และทุกอย่างที่เกี่ยวกับระบบใน IDC ก็ต้องมีตัวสำรอง เช่นระบบแอร์ ระบบดับเพลิง ฯลฯ
DR-Site หรือ Disaster Recovery Site คือ Solution ในการกู้คืนระบบที่มีความสำคัญ ซึ่งเกิดจากภัยพิบัติต่างๆ อันเป็นเหตุให้ระบบ Datacenter หลักหยุดให้บริการ จึงจำเป็นต้องใช้ Site สำรองในการทำงานแทน
ทำไมต้อง DR Site? ข้อดีของ DR Site
- ปกป้องความเสียหายของธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
- ปกป้องความเสียหายของข้อมูลจากภัยพิบัติ
- ปกป้องความเสียหายของระบบ Data center
ตระหนักถึงความสำคัญของ DR-Site Solution
DR-Site Solution นั้น ไม่ใช่การลงทุน แต่เหมือนกับเป็นการซื้อประกัน คุณจะไม่ซื้อตอนนี้ก็ได้ แต่ต้องจำไว้ว่า หากมันมาเกิดขึ้นที่คุณ คุณจะต้องรับปัญหาความเสียหายเหล่านี้ที่จะมาพร้อมกับมันได้
- Revenue ยอดขายตก แน่นอนว่าถ้าระบบงานขายหยุดชะงักไป ย่อมต้องทำให้ยอดขายตกลง มูลค่าความเสียหาย ประเมินค่าไม่ได้กันเลยทีเดียว
- Productivity สำหรับองค์กรที่ต้องใช้ Email / VPN / Web Application / File sharing ในการทำงานหรือติดต่อลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ลองคิดภาพดูครับ หาก Datacenter ล่มไป 10 วัน ทำงานไม่ได้ พนักงานองค์กรคุณมีกี่ท่าน แต่ละท่านเงินเดือนเท่าไหร่ แค่คิดค่าความเสียหายเล่นๆ ก็ปวดหัวแล้วใช่มั้ยครับ
- Compliance ถ้าที่องค์กรไหนมี IT Audit ด้วยต้องระวังเลยนะครับเรื่องนี้ หากท่านไม่เริ่ม DR Site Solution ในระบบ Datacenter ของตัวเอง แอดมินว่าต้องมีปัญหากับ Audit แน่ๆ
- Reputation ชื่อเสียงเสียหาย บริษัทที่เปิดมานานกว่า 10-20 ปี สร้างความพึงพอใจให้มาโดยตลอด กลับมาตกม้าตาย เพราะลืมวางระบบ DR-site Solution ก็มีเยอะครับ
ณ ปัจจุบันต้องบอกเลยว่า องค์กรใหญ่ๆ ทุกแห่ง มีการหยิบเอาเทคโนโลยี DR Site เข้าไปใช้ เพราะประเทศไทยสมัยนี้ก็เริ่มมีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่จะทำให้ระบบของเราหยุดชะงักได้ ไม่ว่าจะเป็น อุบัติภัยต่างๆ เช่น น้ำท่วม, แผ่นดินไหว, ไฟไหม้ สิ่งเหล่านี้ได้เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยหมดแล้ว เพียงแต่ยังไม่เกิดขึ้นกับเราเท่านั้นเอง อยู่ที่องค์กรของท่านแล้วล่ะครับว่า ท่านจะรอให้มันเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยทำ หรือ จะทำกันไว้ก่อนที่มันจะเกิด
Storage
