OSI Model (Open Systems Interconnection Model)
คือแบบจำลองมาตรฐานที่ใช้อธิบายว่าระบบการสื่อสารทำงานอย่างไรในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มันแบ่งกระบวนการสื่อสารออกเป็น 7 ชั้น (Layer) โดยแต่ละชั้นมีหน้าที่เฉพาะ ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ การพัฒนา และการแก้ไขปัญหาในระบบเครือข่าย บน OSI Model ก็จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
- ตั้งแต่ Layer 1 – 4 เรียกว่า Lower Layer
- ตั้งแต่ Layer 5 – 7 เรียกว่า Upper Layer
และสำหรับบทความนี้เราจะมาลงรายละเอียด ใน Layer 1 – 4 ที่เรียกว่า Lower Layer กัน
Physical Layer (Layer1)
ชั้นกายภาพ ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณไฟฟ้า แสง หรือคลื่นวิทยุที่แทนข้อมูลดิจิทัลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยผ่านสื่อกลาง เช่น สายทองแดง คลื่นวิทยุ สายคู่ตีเกลียว และใยแก้วนำแสงเป็นต้น โดยสัญญาณที่ผ่านอาจเป็นสัญญาณไฟฟ้า สัญญาณคลื่นวิทยุ หรือสัญญาณแสง
ตัวอย่าง Physical Layer :
- สายเคเบิล Ethernet
- สาย Fiber Optic
- สาย HDMI
- USB (Universal Serial Bus)
Data Link Layer (Layer 2)
เป็นชั้นที่ทำหน้ากำหนดรูปแบบของการส่งข้อมูลข้าม Physical Network โดยใช้ Physical Address อ้างอิงที่อยู่ต้นทางและปลายทาง ซึ่งก็คือ MAC Address นั่นเอง รวมถึงทำการตรวจสอบและจัดการกับ error ในการรับส่งข้อมูล ข้อมูลที่ถูกส่งบน Layer 2 เราจะเรียกว่า Frame
หน้าที่หลักของ Data Link Layer คือการสร้างและควบคุม Frame ซึ่งเป็นรูปแบบของข้อมูลที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งผ่านสื่อส่งข้อมูล โดยจัดเตรียมข้อมูลที่ส่งให้อยู่ในรูปแบบของ Frame และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่รับกลับมาจากอุปกรณ์ปลายทาง ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูล เช่น การส่งข้อมูลไม่สมบูรณ์ หรือเกิดความขัดแย้งระหว่างการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่าย ชั้นนี้มีหน้าที่ตรวจจับและแก้ไขข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรตัวอย่างโปรโตคอล
ตัวอย่าง Data Link Layer :
- การใช้งานโปรโตคอล Ethernet (IEEE 802.3)
- Wi-Fi (802.11)
- อุปกรณ์ bridge
- Layer 2 Switch
Network Layer (Layer 3)
ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข้ามเครือข่าย หรือ ข้าม network โดยส่งข้อมูลผ่าน Internet Protocol (IP) โดยมีการสร้างที่อยู่ขึ้นมา (Logical Address) เพื่อใช้อ้างอิงเวลาส่งข้อมูล เราเรียกว่า IP address ข้อมูลที่ถูกส่งมาจากต้นทาง เพื่อไปยังปลายทาง ที่ไม่ได้อยู่บนเครือข่ายเดียวกัน จำเป็นจะต้องพึ่งพาอุปกรณ์ที่ทำงานบน Layer 3 นั่นก็คือ Router หรือ Switch Layer 3 โดยใช้ Routing Protocol (OSPF , EIGRP) เพื่อหาเส้นทางและส่งข้อมูลนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพของเครือข่าย ลำดับความสำคัญของบริการ และ ซอฟต์แวร์ใน Network Layer โดยการส่ง package จากเครื่องต้นทางไปยังปลายทางต้องมีการกำหนดหมายเลข IP Address ลงไปกับอุปกรณ์เพื่อใช้ในการระบุตัวตน สรุปก็คือการกระทำใดๆที่ใช้ IP จะอยู่ใน Network Layer (Layer 3)
ตัวอย่าง Network Layer :
- Routers
- Layer 3 Switch
- Firewalls
- Protocols: IP (IPv4, IPv6), ICMP, OSPF, BGP
Transport Layer (Layer 4)
ชั้นนี้จะเป็นการแบ่งข้อมูลใน Layer ต่างๆให้พอเหมาะกับการใช้งานเช่นอาจจะแบ่งข้อมูลในส่วนของ Layer บนให้พอเหมาะกับการจัดส่งลงไปใน Layer ล่าง ซึ่งเรียกว่า Segment station protocol ในชั้นนี้คือ TCP,UDP,SPXหรือจะเรียกว่า ชั้นแห่งการขนส่ง
ตัวอย่าง Transport Layer :
- TCP (Transmission Control Protocol)
- UDP (User Datagram Protocol)
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
https://race.nstru.ac.th/home_ex/blog/search/word?forms=OSI+Model+7+Layers
https://www.netprimetraining.com/blog/osi-model-7-layers
https://thaiconfig.com/infrastructure/what-is-osi-model/